“พิธีกงเต็ก” เป็นพิธีงานศพของชาวจีนที่จัดขึ้นเพื่อทำบุญกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับเป็นครั้งสุดท้าย ซึ่งพิธีนี้ถือได้ชื่อว่าเป็นพิธีสืบทอดและปฏิบัติกันมาตั้งแต่โบราณกาล แต่น้อยคนนักที่จะทราบถึงเรื่องราว ความเป็นมา และขั้นตอนปฏิบัติที่ถูกต้อง เพื่อให้คุณผู้อ่านทราบเกี่ยวกับ “พิธีกงเต็ก” นี้กันให้มากขึ้น เรามาทำความรู้จักกับพิธีนี้กันเถอะ
ความหมายและความเป็นมาของพิธีกงเต็ก
ความหมายของคำว่า “กงเต็ก” เกิดจากคำสองคำรวมกัน นั่นคือ คำว่า “กง” ที่แปลว่า “การกระทำ” ส่วนคำว่า “เต๊ก” นั้นแปลว่า “คุณธรรม” เมื่อนำมารวมคำกันแล้วสามารถแปลความได้ว่า “การกระทำที่มีคุณธรรม”ซึ่งหมายถึง การแลดงความเคารพและความกตัญญูกตเวทีของลูกหลานที่มีต่อผู้ล่วงลับด้วยการกระทำบุญอุทิศส่วนกุศล เพื่อสวดส่งดวงวิญญาณของผู้ล่วงลับไปสู่สวงสวรรค์นั้นเองครับ
สำหรับความป็นมา “พิธีกงเต็ก” นี้เกิดจากรากฐานของความเชื่อทั้ง 3 ความเชื่อด้วยกันอันประกอบไปด้วย 2 ศาสนา และ 1 ลัทธิ ได้แก่…
- ศาสนาพุทธ (นิกายมหายาน) จะเน้นไปที่พระธรรมคำสอนและบทสวดต่างๆ แต่จะไม่มีพิธีกรรม
- ศาสนาเต๋า เน้นไปที่ความสมดุลและพิธีกรรมที่สื่อความหมาย
- ลัทธิขงจื๊อ เน้นไปที่ของไหว้และการแสดงออกถึงความกตัญญูของลูกหลานที่มีต่อผู้ล่วงลับ
ในปัจจุบันถึงแม้ว่าจะไม่ค่อยมีพิธีกงเต็กให้เราได้เห็นกันบ่อยมากนัก เนื่องจากผู้ที่จะรับพิธีกงเต็กได้นั้นต้องเป็นผู้ที่เสียชีวิตในช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป โดยเสียชีวิตตามธรรมชาติหรือโรคภัยไข้เจ็บและแต่งงานมีลูกหลานแล้วเท่านั้น แต่งดเว้นการจัดพิธีนี้สำหรับผู้ที่เสียชีวิตก่อนวัยอันควรและเสียชีวิตแบบม่ปกติอันเกิดจากอุบัตติเหตุ ถูกฆาตกรรม หรือฆ่าตัวตาย ส่วนมากการจัดพิธีกงเต็กนั้นจะมีการนิมนต์พระสงฆ์มาประกอบพิธี หรือจ้างบุคคลธรรมดาที่รับจ้างมาทำพิธีนี้ก็ได้เช่นกันครับ สำหรับพระสงฆ์ที่ประกอบพิธีนี้ในประเทศไทยเป็นคณะสงฆ์นิกายมหายานมีเพียงคณะสงฆ์นิกายจีย (พระจีน) กับคณะสงฆ์อนัมนิกาย (พระญวน) เท่านั้นครับ
เครื่องแต่งกายของลูกหลานภายในงานพิธีกงเต็ก
สำหรับ “เครื่องแต่งกายของลูกหลานภายในงานพิธีกงเต็ก” นั้นจะมีความแตกต่างกันไปครับโดยผู้ที่มีความสัมพันธ์กับผู้ล่วงลับจะใส่ชุดที่ตัดเย็บด้วยผ้าดิบไว้ด้านในคลุมทับด้วยชุดที่ตัดเย็บจากผ้าปอหรือผ้ากระสอบ หือที่เรียกอีกอย่างว่า “หมั่วซ่า” โดยจะมีสีหรือเครื่องหมายที่แสดงถึงความเกี่ยวข้องกับผู้ล่วงลับ ส่วนญาติพี่น้องและหลานคนอื่นๆ จะแต่งการด้วยชุดผ้าดิบ และ ชุดสีขาว
ลำดับขั้นตอนและการปฏิบัตติในการประกอบพิธีกงเต็ก
โดยทั่วไปแล้ว พิธีกงเต็กจะจัดขึ้นในวันที่ 4,6,8 (นับจากวันที่เสียชีวิต) ขึ้นอยู่กับว่าจะสวดพระอภิธรรมกี่คืน หลังจากสวดพระอภิธรรมศพตามพิธีงานศพของศาสนาพุทธทั่วไป โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วงเวลาด้วยกัน ได้แก่ แบบทั้งวันทั้งคืนจะเริ่มในช่วงประมาณ 09.00 – 20.00 น. แบบครึ่งวันครึ่งคืน จะเริ่มในช่วงประมาณ 13.00 – 20.00 น. ครับ ส่วนการปฏิบัติตามลำดับขั้นตอนในการประกอบพิธีกงเต็กนั้นจะมีความละเอียดอ่อนมาก เนื่องจากมีความหมายโดยนัยยะซ่อนอยู่ในทุกขั้นตอน จะอธิบายอย่างละเอียดในหัวข้อ “ลำดับขั้นตอนและการปฏิบัตติประกอบพิธีกงเต็ก” ครับ
พิธีข้ามสะพาน
“พิธีข้ามสะพาน” ในพิธีกงเต็กนั้นเป็นสัญลักษณ์แทนการของดวงวิญญาณผู้ล่วงลับที่เดินทางจากภพหนึ่งไปสู่อีกภพหนึ่ง โดยมีลูกหลานนำดวงวิญญาณข้ามสะพานโอฆะสงสารไปส่งยังแดนปรโลก เมื่อส่งเสร็จจึงจะเดินทางข้ามสะพานกลับมายังโลกมนุษย์ครับ แต่ทุกครั้งที่ข้ามสะพานกงเต็กจะต้องหย่อนเหรียญสตางค์ลงไปอ่างน้ำ เพื่อซื้อทางให้แก่ผู้ล่วงลับและตนเองนั่นเองครับ
พิธีถวายเครื่องกระดาษ
“ พิธีถวายเครื่องกระดาษ” ในพิธีกงเต็กนี้จะเป็นการเผากระดาษเงิน-ทอง ที่ว่านี้มีส่วนมากจะนิยมเผาเฉพาะปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีพในปรโลกเท่านั้น อย่างเช่น บ้าน เฟอร์นิเจอร์ หีบเสื้อผ้า เงินทอง คนรับใช้ พร้อมตั้งชื่อให้ เป็นต้น โดยอาจจะเผาหลังจากการทำพิธีกงเต็กเสร็จ หรือเผาในวันรุ่งขึ้น พร้อมๆกับการฌาปนกิจหรือการเดินทางไปฝังที่ฮวงซุ้ยก็ได้เช่นกันครับ